มีวิธีตรวจสอบหรือไม่ที่จะไม่โดนหลอกขายเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ว่าเป็น SERVER รวมไปถึงความแตกต่างของการทำงานระหว่างการใช้ SERVER จริง ๆ กับคอมพิวเตอร์ PC
สวัสดีครับ สวัสดีปีใหม่สำหรับปี 2017 เราจึงเก็บเอาประเด็นของผู้ประกอบการที่กำลังออกแบบระบบงานในออฟฟิต ที่สอบถามเข้ามาเกี่ยวกับเครื่อง SERVER
ว่าจะมีการพิจารณาใช้งานอย่างไร มีวิธีตรวจสอบหรือไม่ที่จะไม่โดนหลอกขายเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ว่าเป็น SERVER รวมไปถึงความแตกต่างของการทำงานระหว่างการใช้ SERVER จริง ๆ กับคอมพิวเตอร์ PC
เมื่อพูดถึง SERVER หลายท่านคงนึกจิตนาการถึง ห้องใหญ่ ๆ เปิดแอร์เย็น ๆ แต่ในปัจจุบันแบรนด์ต่าง ๆ เช่น HP, IBM, LENOVO, DELL เป็นต้น ได้ออกแบบเครื่อง SERVER ให้มีลักษณะคล้าย ๆ เครื่องคอมพิวเตอร์ PC (ซึ่งตรงนี้ ก็เป็นประเด็นที่สร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้ประกอบการครับ ว่าเครื่อง PC กับ SERVER เหมือนกัน ?)
ซึ่งสาเหตุของการออกแบบ Server ในลักษณะนี้ ก็เพื่อให้สามารถระบายความร้อนได้ดีนั่นเองครับ แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ SERVER คือชิ้นส่วนที่ประกอบอยู่ภายในของเครื่องครับ
**คำถามที่ว่า ทำไมต้องใช้ SERVER ไม่ใช้ PC เป็นคำถามยอดฮิต ของผู้ประกอบการ เพราะเครื่อง PC ที่นำมาทำหน้าที่เป็น SERVER ก็ทำงานได้เหมือนกัน ซึ่งก็ต้องเรียนตามความจริงว่า มีหลายองค์กรที่นำ PC มาทำเป็น SERVER
คำถามก็คือ ทำอย่างนั้นได้หรือไม่ คำตอบคือ”ได้ครับ” แต่ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และต้องคำนึงถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะต้องตั้งคำถามว่า หาก SERVER ตัวนี้พัง Harddisk พัง หรือล่มขึ้นมา อะไรจะเกิดขึ้น ความเสียหายแก่ข้อมูลองค์กรที่เกิดขึ้นจะมากเพียงใด
แล้ว PC กับ Server ต่างกันตรงไหนครับ ?
Alert ต่าง ๆ : อันนี้ต้องบอกว่า PC นั้นไม่มี แต่ความสามารถของ SERVER นั้นถึงขนาดที่บางรุ่น สามารถบอกให้คุณได้รู้ล่วงหน้าด้วยซ้ำว่าอุปกรณ์กำลังจะเสีย เสียชิ้นไหน ? เสียตัวที่เท่าไหร่ ? ลองนึกภาพ หากคุณใส่ Memory ไปทั้งหมด 4 ช่อง แล้วเกิด Memory เสีย สิ่งที่เราต้องทำก็คือกดปุ่มบน Mainboard
จากนั้นก็รอทราบผลลัพธ์ได้เลยว่า Memory ช่องไหนเสีย หรือหาก Harddisk กำลังเสีย วิ่งด้วยความเร็วผิดปกติก็จะแจ้งเตือนที่หน้าเครื่องว่ากำลังจะเสีย สิ่งนี้คุณจะไม่พบได้เลยใน PC
Power Supply : ระบบจ่ายไฟสำหรับ SERVER ถูกออกแบบมาให้เปิดใช้งานได้ตลอด 24 ชม. มีหลายรุ่นที่มี Reduntdant Power Supply นั้นคือ มันมี Power Supply 2 ตัวในเครื่องเดียว ป้องกัน Power Supply พัง แล้วยังเป็น Hot swap ด้วย นั่นคืออันไหนพังเราก็ดึงออกได้เลย โดยไม่ต้องปิดเครื่อง แล้วเสียบเข้าได้โดยไม่ต้องปิดเครื่องเช่นกัน ช่วยให้ SERVER สามารถทำงานได้อย่างตลอดต่อเนื่องโดยไม่มี Downtime
ผมเคยมีประสบการณ์ของการใช้คอมพิวเตอร์ PC แล้ว Power Supply ระบบจ่ายไฟเสียหาย ส่งผลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ไหม้ ส่งผลให้ Mainboard และ Harddiskพัง ข้อมูลพัง ทำงานต่อไม่ได้ ระบบการทำงานขององค์กรติดขัด
CPU : ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ PC หน่วยประมวลผล CPU ก็จะเป็นตระกูล Pentium, Core i3, i5, i7 ทั้งหลาย แต่สำหรับเครื่อง SERVER จะเป็น CPU อีกระดับหนึ่งเรียกว่า XEON Processor
Memory หรือ RAM (แรม) : บางคนอาจจะคิดว่ามันต่างกันด้วยเหรอ ? ก็เห็นเป็นแผงยาว ๆ มีชิปเหมือนกัน คำตอบคือ”ต่างครับ” SERVER จะใช้ Memory (RAM) ที่เรียกว่า ECC Memory จะเป็น Memory ที่มีระบบป้องกันการส่งข้อมูลผิดพลาด อีกทั้งยังสามารถจัดการหน่วยความจำให้กับเครื่อง SERVER ในขณะทำงานให้เสมือนว่า เครื่องนั้นมีการ Restart สม่ำเสมอ
RAID Controller : RAID ใน PC นั้นพบได้ในเครื่องประกอบบ้าง แต่ใน Server นั้น RAID มีความสำคัญมาก ถ้าพูดถึงข้อมูลแล้ว เราคงให้ความสำคัญอย่างมาก ดังนั้นเลยมีเทคโนโลยี่ RAID เพื่อช่วยป้องกัน Harddisk พัง ซึ่งจะทำให้มี Harddisk ที่พร้อมทำงานแทนตลอดเวลาเมื่อลูกใดลูกหนึ่งพัง ก็ไม่ต้องมานั่งกู้ข้อมูล Restore กันให้วุ่นวาย รวมถึง RAID ยังสามารถทำให้ประสิทธิภาพในการเรียกใช้งาน Harddisk ทำได้เร็วขึ้นด้วยก็มีเช่นกัน
ดังนั้นทำให้หลายองค์กรก็เลือกใช้ RAID เพื่อป้องกันข้อมูลที่สำคัญของตนเอง ไว้ผมจะเขียนเรื่อง RAID ให้ว่าแต่ละ RAID ต่างกันอย่างไรมันมีตั้งแต่ RAID 0,1,5,0+1,10 สารพัด RAID
**สรุปเลยละกัน คอมพิวเตอร์ PC นั่นออกแบบมาเพื่อใช้งาน แต่สำหรับ SERVER ออกแบบมาเพื่อให้บริการ ดังนั้นระบบการให้บริการต่าง ๆ มาพร้อมระบบป้องกันความเสี่ยงด้านความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับอุปกรณ์และการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับข้อมูลขององค์กรนั่นเองครับ
ส่วนวิธีการที่เราสามารถสังเกตง่าย ๆ ในการตรวจสอบสินค้าระหว่าง PC และ SERVER ในส่วนนี้ให้สังเกตจากเสป็ค CPU ของเครื่องนั้นครับ ปัจจุบันถ้าไม่ใช่ XEON Processor ก็ให้ฟันธงได้เลยว่า ไม่ใช่ SERVER ครับ